Tag Archives: ไฟประดับ

มารู้จักวิธีการต่อไฟประดับกันดีกว่า

กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟแต่ละหลอดจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกันและเมื่อหลอดหนึ่งหลอดใดชำรุด หลอดไฟที่เหลือจะดับหมด สำหรับใครที่ต้องการจะรู้วิธีการต่อไฟประดับ เพื่อใช้ในการตกแต่งหรืองานพิธีต่างๆ ควรศึกษาเป็นความรู้กันสักนิด

·      วงจรอนุกรม คือ วงจรที่ประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไปต่อเรียงกัน โดยมีทางเดินของกระแสทางเดินของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียวไม่ได้แยกไหลไปส่วนอื่นของวงจร การต่อวงจรอนุกรมทำได้โดยนำขั้วต่อสายข้างหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 นำขั้วต่ออีกข้างหนึ่งของตัวที่ 2 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อสายตัวที่ 3 ต่ออย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบเสร็จแล้วนำขั้วต่อสายที่แล้วนำขั้วต่อสายที่เหลือของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวสุดท้ายมาต่อเข้ากับปุ่มหนึ่งของแหล่งกำเนิด เราก็ได้วงจรครบเพื่อใช้งาน

การต่อวงจรอนุกรมจะใช้หลอดไฟฟ้าหรือความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อกันเข้าแบบอนุกรมแล้วต่อเข้ากับขั้วแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดการไหลของกระแสในทิศทางเดียว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรม เช่นวงจรจุดไส้หลอดวิทยุ ซึ่งเมื่อไส้หลอดใดหลอดหนึ่งดับ อุปกรณ์จะไม่ทำงานและเตารีดไฟฟ้า ซึ่งมีฟิวส์ สวิตช์ และ Thermostat ต่อกันแบบอนุกรมเป็นต้น

     คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม                   

   1.กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร                   

   2.แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่าง ๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด                   

   3.ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

     ข้อสังเกต

    1.การต่อหลอดไฟฟ้าที่ใช้ประดับต้นไม้หรือตามงานวัด จะต่อแบบอนุกรม เนื่องจากใช้หลอดไฟเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้านทานมากขึ้น สามารถใช้กับไฟบ้าน 220 โวลต์ได้                  

   2.ขั้วหลอดไฟบางหลอดถ้าเป็นสนิมจะทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าที่จัดได้อาจไม่เท่ากัน                

    3.ในการวัดค่ากระแสไฟฟ้าไม่ควรปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรนาน เพราะจะทำให้ไส้หลอดร้อน ความต้านทานของหลอดไฟจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้วัดค่าของกระแสไฟฟ้าได้น้อยลง

·               การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว โดยกระแสไฟฟ้ารวม ในวงจรเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แยกผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวรวมกัน วงจรขนาน เป็นวงจรไฟฟ้าที่ต่อความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ แต่ละตัวคร่อมกับแหล่งกำเนิดของวงจรทำให้เกิดการไหลของกรแสไฟฟ้าหลายทาง ผลรวมของกระแสที่จ่ายออกไปจะเท่ากับผลรวมของกระแสที่ไหลในแต่ละส่วนของวงจรรวมกัน และแรงดันที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตัวจะเท่ากัน แม้ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะมีขนาดไม่เท่ากันก็ตาม

     คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน

   1.กระแสไฟฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน                 

   2.แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด                 

   3.ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร

     ข้อสังเกต                   

   1.การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานเป็นการนำปลายข้างเดียวกันของแต่ละหลอดมารวมกันก่อนแล้วจึงต่อกับเซลล์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านหลอดไฟแต่ละหลอด เมื่อหลอดใดหลอดหนึ่งชำรุดกระแสไฟฟ้าก็ยังสามารถผ่านหลอดอื่นได้ จึงนำการต่อแบบนี้มาใช้ตามบ้านเรือน                

   2.เมื่อนำหลอดไฟจำนวนเท่ากันมาต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน เพื่อเปรียบเทียบความสว่าง จะได้ว่า การต่อแบบขนานหลอดไฟจะสว่างกว่าแบบอนุกรม  จะสังเกตุเป็นได้ว่าลักษณะการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประยุกต์เป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้เหมาะสมเพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม

    เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่า ถ้าตำแน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดทีมีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอ

   3.ความต้านทานรวมที่ได้จากการต่อแบบขนานมีค่าน้อยกว่าการต่อแบบอนุกรม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าในวงจรแบบขนานจะมากกว่ากระแสไฟฟ้าในวงจรแบบอนุกรม

การต่อแบบผสม คือ การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว การต่อแบบนี้โดยทั่วไปไม่นิยมใช้กันเพราะเกิดความยุ่งยากจะใช้กันแต่ในด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวต้านทานตัวหนึ่ง ต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่งแล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อขนานกับตัวต้านทานอีกชุดหนึ่ง

11 Oct 2013